สอนลูกอ่านหนังสือ เป็นอีกเรื่องที่สำคัญเพราะการอ่านถือเป็นพื้นฐานของการพูดและการเขียน ยิ่งอ่านมากยิ่งได้เปิดโลกทรรศน์มาก และยิ่งอ่านมากจะยิ่งมีคลังคำศัพท์มากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามเด็กที่ได้ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เด็ก จะเป็นคนรักการอ่านในตอนโตด้วย มีวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมให้ลูกรักการอ่าน เพราะลูกจะฉลาดเริ่มต้นที่ความใส่ใจในการสอนลูกอ่านหนังสือของพ่อและแม่

สอนลูกอ่านหนังสือ สำคัญอย่างไร

ในปัจจุบันเด็กที่มีความบกพร่องเรื่องการเรียนรู้ ด้านการอ่าน เขียน เป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เด็กกลุ่มดังกล่าวอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จึงส่งผลเด็กหลายๆ คนไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน ทั้งที่จริงเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้มีความแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป ซึ่งเหตุผลที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความบกพร่องอาจมาจาก หลายปัจจัย อาทิ ครูผู้สอนดูแลเด็กไม่ทั่วถึงหรือขาดทักษะในการสอน, พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่มีเวลาที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาด้านการอ่านและเขียนให้กับลูก จึงทำให้การสอนลูกอ่านหนังสือเป็นเรื่องที่สำคัญ

สื่อและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กทำให้ขาดความสนใจในการเรียนลดลง หรือร้ายแรงสุดคือ ลูกมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ แต่หากเขาได้รับความช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ที่จะจะช่วยสอนลูกอ่านหนังสือ ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ก็สามารถอ่านออกเขียนได้

เริ่มต้นให้เด็กๆ อ่านหนังสือ

ปัญหาของเด็กๆ กับการอ่านหนังสือไม่คล่อง สะกดไม่ค่อยจะถูก เทคนิคที่น่าสนใจที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปใช้สอนลูกอ่านหนังสือ จากครูคุณบุญเสริม แก้วพรหม ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ได้อธิบายวิธีการที่จะช่วยให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ดังนี้

1. วิธีที่ดีที่สุดในการสอนภาษาไทยให้อ่านออกเขียนได้ คือ การสอนสะกดคำ แจกลูก ท่องจำและไล่หนังสือ และต้องอาศัยการเรียนการสอนแบบ “ฝึก ซ้ำ ย้ำ ทวน”

2. ต้องสอนตาม ลำดับขั้น ในการสอนให้อ่านออกเขียนได้ ประกอบด้วย

  • ต้องรู้จักพยัญชนะ โดยครูสามารถสอนให้รู้จักกับพยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว รวมถึง รูป และ เสียง ของพยัญชนะ
  • ให้เด็กได้รู้จักสระ ต้องค่อยๆ สอนให้เด็กอ่านออกเสียงสระแต่ละตัว พร้อมกับฝึกเขียนไปด้วย
  • สอนสะกดคำ และแจกลูก ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับการอ่านและเขียน

การสะกดคำ ก็คือ การที่แยกส่วนประกอบของคำ เช่น “ชา” สะกดคำว่า “ชอ-อา-ชา” ส่วน

การแจกลูก หมายถึง การแตกส่วนประสมออกไปเพื่อฝึกประสมคำ เช่น มะ มา มิ มี มึ มื มุ มู … หรือ กา ขา คา งา จา ฉา …

  • เริ่มเรียนรู้การผันวรรณยุกต์ โดยยึดตามหนังสือเรียนของเด็กเป็นหลัก จะได้ไม่ยากจนเกินไป
  • สอนเด็กให้อ่านเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา รวมถึงสอนให้ผันวรรณยุกต์คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราด้วย

เมื่อเข้าใจในเรื่องการสะกดตรงมาตราแล้ว ลองให้ฝึกอ่านเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตราบ้าง

3. ขั้นต่อมาให้อ่านเขียนคำควบกล้ำ แล้วต่อด้วยอักษรนำ

4. สุดท้าย เป็นคำที่มีตัวการันต์ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ และคำที่มีลักษณะพิเศษ

สิ่งที่ควรคำนึงอยู่เสมอ เวลาที่สอนลูกอ่านหนังสือ สอนหัดเขียน คือ ต้องสอนตามลำดับขั้นตอน จากง่ายไปสู่ที่ยากขึ้น พยายามให้เด็กฝึกอ่าน ฝึกเขียน อย่างช้าๆ อย่ารวบรัด แต่ให้ฝึก ซ้ำ ย้ำ ทวน แต่ทั้งบางครั้ง การที่ให้เด็กอ่านแต่ตำราเรียนมากเกินไป เด็กก็จะเจอแต่คำในหนังสือเท่านั้น พ่อแม่มีส่วนร่วมในการลองพาลูกไปซื้อหนังสืออ่านเสริมอ่านๆ อาจจะเป็นนิทาน หนังสือการ์ตูน วรรณกรรมเยาวชน หรือนิยายก็ได้ โดยที่ต้องเปิดใจให้กว้าง ไม่ใช่ว่าหนังสือการ์ตูน หรือนิยายอ่านแล้วไม่มีประโยชน์ แต่หนังสือเหล่านั้นจะทำให้เด็กได้เจอคำที่หลากหลาย สำนวนการเขียนที่มีชั้นเชิง สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต

สอนลูกอ่านหนังสือก่อน 7 ขวบ

ความจริงแล้ว ปัญหาลูกอ่านหนังสือไม่ออก ไม่ใช่เรื่องน่าหนักใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยอนุบาล ดังที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องต้องกันว่า เด็กๆ ควรจะอ่านหนังสือได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อเริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นั่นหมายความว่า คุณพ่อคุณแม่มีเวลาค่อยๆ ฝึกทักษะการอ่าน สอนลูกอ่านหนังสือได้จนถึงช่วงวัย 7-8 ปี เลยทีเดียว

Steve Truch ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ The Reading Foundation (องค์กรที่ดำเนินโครงการเพื่อนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้) กล่าวว่า ช่วงวัย 7-8 ปี ของลูกถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง หากถึงตอนนั้น คุณพ่อคุณแม่ยังพบปัญหาลูกอ่านหนังสือไม่ออก นั่นแหละคือเวลาที่จะต้องหันมาแก้ปัญหา สอนลูกอ่านหนังสืออย่างจริงจังได้

Timothy Shanahan ผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะการอ่าน กล่าวว่า การอ่านมีผลต่อการเรียนและความสำเร็จของชีวิตในภายภาคหน้า มีวิจัยชิ้นหนึ่งพูดถึงความสำคัญของการอ่านเอาไว้ว่า ‘ทักษะการอ่านของเด็ก 7 ขวบ สามารถทำนายรายได้ของเด็กคนนี้ในอีก 35 ปีข้างหน้าได้’

จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนมาก มักมีความกังวลใจเกี่ยวกับทักษะการอ่านของลูก จนบางครั้งต้องใช้การบังคับให้ลูกฝึกอ่านหนังสือ เพราะคาดหวังผลลัพธ์ที่รวดเร็ว

สอนลูกอ่านหนังสือ

วิธีสอนลูกอ่านหนังสือโดยไม่บังคับ

1. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เป็นวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนลูกอ่านหนังสือได้ง่ายและมีประโยชน์กับลูกมาก เพราะนอกจากจะทำให้การอ่านเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขสำหรับลูกแล้ว ลูกยังจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จากหนังสือ ไปพร้อมกับเห็นภาพและจดจำลักษณะของคำที่คุณพ่อคุณแม่อ่านให้ฟังบ่อยๆ ได้อีกด้วย

เทคนิคในการอ่านหนังสือให้ลูกฟังก็คือ คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านออกเสียงให้ชัดเจนทุกคำ และอธิบายความหมายของคำใหม่ๆ ที่ลูกไม่เคยเห็นหรือเคยได้ยินมาก่อนให้ลูกเข้าใจด้วย เป็นการสอนลูกอ่านหนังสือที่ดีเลยทีเดียว

2. ชวนลูกพูดคุยบ่อยๆ

การอ่านเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการสื่อสาร ส่วนการฝึกให้ลูกสื่อสารด้วยการพูดคุยและรับฟังบ่อยๆ ก็ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการและทักษะภาษาดีขึ้นได้ การพูดคุยกับลูก โดยเฉพาะบทสนทนาที่มีรูปประโยคสมบูรณ์ ไม่ซับซ้อน และเข้าใจง่าย เช่น ครอบครัวของเรามี 5 คน มีพ่อ มีแม่ มีพี่ๆ ของลูกสองคน และลูกเป็นคนที่ 5 จะช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับการใช้คำพูดเพื่ออธิบายสิ่งต่างๆ ได้ดี ส่งผลให้ลูกสามารถเข้าใจประโยคหรือข้อความในหนังสือได้ดีขึ้นอีกด้วย

3. ชวนลูกหัดเขียนตามสิ่งที่พูด

การสอนลูกอ่านหนังสือคุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มทักษะการอ่านให้ลูกได้ด้วยการเขียน เช่น ลองให้ลูกพูดชื่อสิ่งของที่ต้องการและเขียนชื่อสิ่งนั้นลงในกระดาษ โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยช่วยแนะนำและแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะการเขียนจะช่วยให้ลูกจดจำคำนั้นๆ ได้ดียิ่งขึ้น และเมื่อลูกเห็นคำที่ตัวเองเคยเขียนอยู่ในหนังสือเล่มไหน ก็จะสามารถอ่านออกมาด้วยความมั่นใจได้

4. การอ่านคือการเล่นสนุก

การสอนลูกอ่านหนังสือโดยบังคับ ลูกจะรู้สึกว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องยากและน่าเบื่อเกินไป  ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับ หรือใช้การอ่านหนังสือเป็นวิธีลงโทษลูก แต่ควรทำให้ลูกรู้สึกว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก โดยเริ่มจากการเลือกหนังสือที่ลูกสนใจ ภาพสวย เนื้อหาสนุกสนาน หรือจะเป็นหนังสือที่มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติม เช่น หนังสือนิทานป็อปอัพ หนังสือเสียง หนังสือที่มีเพลงประกอบ ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกตื่นเต้นไปกับการอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น

5. ทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน

การสอนลูกอ่านหนังสือกับการสร้างบรรยากาศการอ่านให้เกิดขึ้นภายในบ้านเป็นเรื่องสำคัญ เช่น คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือให้ลูกเห็นเป็นประจำ และแบ่งเวลาให้กับการอ่านหนังสือให้ลูกฟังเสมอ แต่ถึงอย่างนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรกดดันหรือบังคับให้ลูกอ่านหนังสือตลอดเวลา จนพลาดโอกาสที่จะได้ออกไปวิ่งเล่นสนุกนอกบ้าน เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกว่าการอ่านหนังสือ เป็นกิจกรรมที่น่าเบื่อหน่ายและรบกวนเวลาที่ควรได้ออกไปเล่นสนุกมากกว่า

เทคนิคการสอนลูกอ่านออกเขียนได้

สำหรับเทคนิคในการสอนลูกอ่านหนังสือให้อ่านออกเขียนได้เบื้องต้น

  • สอนลูกอ่านหนังสือทุกวันเพื่อความต่อเนื่อง โดยใช้หนังสือเรียน นิทาน คำ อักษรไทย
  • สอนลูกอ่านหนังสือควบคู่กับการเขียน โดยใช้อักษรไทย คำ ประโยค นิทาน
  • สอนลูกอ่านหนังสือและฝึกคัดลายมือ นอกจากทำให้ลายมือสวยงามแล้วยังเป็นการช่วยในการจดจำรูปคำต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย
  • สอนลูกอ่านหนังสือและวาดรูปประกอบคำ ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสนุกไปกับงาน โดยมีการจำแนกคำออกมาเพื่อให้นักเรียนเข้าใจการผสมคำมากขึ้น
  • สอนลูกอ่านหนังสือและการนำคำมาแต่งเป็นประโยคสื่อสารรูปหรือเหตุการณ์จริง เช่น ใคร+ทำอะไร/ ใคร+ทำ/อะไร+กับใคร
  • สอนลูกอ่านหนังสือและเขียนคำตามภาพวาดโดยให้นักเรียนมีอิสระตามความคิดของลูกเอง

 

นอกจากการสอนลูกอ่านหนังสือแล้ว การฝึกให้ลูกเขียนแสดงความคิดเห็นก็เป็นการฝึกลูกให้รู้จักการอ่านที่ถูกวิธีอีกทางหนึ่ง เพราะจะทำให้ลูกอ่านอย่างเข้าใจและรับรู้ถึงสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อมากกว่าการอ่านไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้คิดและวิเคราะห์ตาม วิธีการสอนให้เขาเขียนแสดงความคิดเห็น ข้อแนะนำคือไม่ควรยัดเยียดหรือบังคับลูกอ่านสิ่งที่ไม่ชอบเพราะลูกอาจจะเครียด และเกลียดหนังสือไปเลยก็ได้ ดังนั้นขอให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจหลัก และเรียนรู้เทคนิคการสอนลูกอ่านหนังสือตามคำแนะนำข้างต้น แล้วไปปรับใช้กับลูกๆ ที่บ้าน รับรองว่าการสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านที่มีคุณภาพไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  jeremyhoyejewellery.com

สนับสนุนโดย  ufabet369