ปวดหัว อาการที่หายได้ด้วยการพักผ่อนและการกิน

ปวดหัว เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยแต่ละคนอาจมีลักษณะอาการและความรุนแรงของอาการปวดต่างกัน ตามปกติแล้วอาการปวดในชีวิตประจำวันมักไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง ส่วนมากจะเกิดจากความเครียดจากการเรียนหรือการทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการที่ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งสามารถหายได้ด้วยการดูแลตัวเอง และหากมีอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์เพื่อรักษา

อาการปวดหัว แบบไหนเป็นโรคใดได้บ้าง

  • ปวดข้างเดียว หากผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวนั่นคืออาการของโรคไมเกรน อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งสลับกันไป โรคนี้มักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น อาการปวดมักจะเกิดขึ้นเป็นชั่วโมง หรืออาจปวดนานหลายวัน
  • ปวดแบบคลัสเตอร์ คือ อาการปวดรุนแรงบริเวณรอบดวงตา ลามไปจนขมับด้านใดด้านหนึ่ง มักจะปวดตุบ ๆ เป็นชุด ๆ ในเวลาที่แน่นอน เช่น มักปวดในช่วงเดือนนี้ของทุกปี โดยการปวดจะกินเวลานานหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน อาการนี้มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • ปวดทั้งสองข้าง เป็นการปวดศีรษะจากความเครียดเป็นครั้งคราว มักเป็น ๆ หาย ๆ หรือปวดตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป และอาจนานจนกินเวลาเป็นวันได้ ซึ่งมักพบร่วมกับการปวดไมเกรน หากมีอาการเกิดขึ้นน้อยกว่าครึ่งเดือนจะจัดว่าเป็นการปวดศีรษะจากความเครียดเป็นครั้งคราว แต่ถ้าหากมีอาการปวดมากกว่า 1-3 เดือนจะถือว่าเป็นการปวดศีรษะจากความเครียดแบบเรื้อรัง
  • ปวดจากไซนัสทั้งสองข้าง มักมีอาการปวดบริเวณหน้าผาก สันจมูก รวมถึงโหนกแก้ม โดยอาการปวดจะรุนแรงขึ้นเมื่อผู้ป่วยก้มตัว หรือก้มศีรษะลง และมักมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น น้ำมูกไหล มีไข้ หรือใบหน้าบวม เป็นต้น
  • ปวดจากเนื้องอกในสมอง จะมีอาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ และจะทวีความรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืนจนผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมากลางดึก โรคนี้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากเพราะอาการจะกำเริบตอนเคลื่อนไหวร่างกาย และมักจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ทรงตัวลำบาก สายตาพร่ามัว ไม่มีสมาธิ เป็นต้น

อาการปวดหัว มีสาเหตุและวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง

สาเหตุของอาการ มาจาก 3 ส่วนใหญ่

  • อาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ เป็นกลุ่มที่พบบ่อยในกลุ่มอาการปวดศีรษะจากไมเกรน อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ เกิดจากระบบรับความรู้สึกในประสาทและสมองเกิดการทำงานผิดปกติ โดยอาการอาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน
  • อาการปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างบริเวณศีรษะและคอ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดอุดตันในสมอง และอาจเกิดจากอวัยวะบริเวณรอบๆ สมองได้อีกด้วย เช่น ไซนัสอักเสบ เป็นต้น
  • อาการปวดศีรษะจากเส้นประสาทและอื่นๆ เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาท เมื่อเกิดการอักเสบจะมีผลต่อใบหน้าทำให้เกิดอาการปวดบริเวณใบหน้าอย่างรุนแรง

การรักษาโรคปวดศีรษะ

  • การรับประทานยา แพทย์จะพิจารณาตามอาการของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะที่เกิดจากไมเกรนแพทย์จะให้รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด หากผู้ป่วยมีอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์จะมีการจ่ายยาระงับอาการทางจิต และยาต้านชักร่วมด้วย
  • การบำบัด วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เพื่อลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ เช่น การนั่งสมาธิ การนวดบำบัด เป็นต้

การป้องกันตนเองจากโรคปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะมักมีเหตุมาจากความเครียด เมื่อเราเครียดจะทำให้นอนไม่หลับ และเกิดการพักผ่อนไม่เพียงพอ การป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไปเครียดจนเกินไป หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด เช่น การอดอาหาร การอดนอน เป็นต้น

อาการปวดหัวแบบไหนต้องรีบไปพบแพทย์

  • ปวดรุนแรงแบบทันที
  • ปวดแบบเรื้อรังเป็นๆ หายๆ
  • ปวดและมีอาการชา แขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย
  • ปวดชนิดที่ไม่เหมือนเดิม แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • ปวดข้างเดียว หรือสองข้าง ปวดตุบๆ จนรบกวนชีวิตประจำวัน
  • ปวดและคลื่นไส้
  • ปวดทานยาแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น
  • ปวดในบริเวณบาดเจ็บที่ศีรษะ

ปวดหัว

9 วิธีแก้ปวดหัวง่ายๆ ที่ทำได้เอง

1. พักผ่อนให้เพียงพอ

อาการปวดหัวอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายต้องการการพักผ่อน เมื่อมีอาการปวดอาจลองหยุดทำงานและพักสายตาหรืองีบสัก 10 นาที เพราะการทำงานต่อทั้งที่มีอาการจะยิ่งทำให้ปวดมากขึ้น และบางครั้งอาจเกิดจากการนอนไม่พอหรือความผิดปกติด้านการนอน เช่น นอนไม่หลับ หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับซึ่งอาจทำให้ปวดเรื้อรัง

เพื่อการนอนที่มีคุณภาพ ควรเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา ซึ่งระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมของผู้ใหญ่โดยทั่วไปคือวันละ 7–9 ชั่วโมง เพราะหากนอนมากไปก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการได้เช่นกัน และก่อนเข้านอนควรทำกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย เช่น อาบน้ำอุ่น และอ่านหนังสือ หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์ เล่นอินเทอร์เน็ต และดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้นอนหลับยาก

2. จิบชาอุ่นๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มชาสมุนไพรอุ่นๆ เช่น ชาขิง ชาคาโมมายล์ (Chamomile Tea) และชาเปปเปอร์มินต์ (Peppermint Tea) ที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเป็นวิธีแก้ปวดหัวที่แนะนำเช่นกัน แต่ผู้มีโรคประจำตัวหรือใช้ยารักษาโรคใดๆ อยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดื่มชาสมุนไพร เพราะสมุนไพรเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อโรคที่เป็นอยู่และประสิทธิภาพของยาได้

นอกจากนี้ การดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอในแต่ละวันจะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำที่อาจเป็นสาเหตุของอาการได้ โดยทางกระทรวงสาธาณสุขแนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 8–10 แก้ว ทั้งนี้ ปริมาณการดื่มน้ำของแต่ละคนจะแตกต่างกันตามเพศ ช่วงวัย และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน และควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวดมากขึ้น

3. ประคบเย็น

วิธีแก้อีกวิธีคือการประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เจลเย็นสำเร็จรูป หรือน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ห่อด้วยผ้าสะอาดแล้วนำมาประคบบริเวณที่รู้สึกปวด เช่น หน้าผาก ขมับ รอบดวงตา และท้ายทอย ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบ ชะลอการทำงานของเส้นประสาท และทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงช่วยให้อาการดีขึ้นได้

4. อโรมาเธอราพี (Aromatherapy)

อโรมาเธอราพีเป็นการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการบำบัดและรักษาโรค โดยน้ำมันหอมระเหยบางชนิดนั้นมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวดหัว เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์และน้ำมันเปปเปอร์มินต์ โดยสามารถสูดดม สเปรย์ลงบนหมอน หยดลงในอ่างอาบน้ำ และนวดบริเวณศีรษะ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และทำให้รู้สึกผ่อนคลาย อย่างไรก็ตาม น้ำมันหอมระเหยบางชนิดมีความเข้มข้นสูง การสูดดมหรือทาลงบนผิวหนังโดยตรงอาจทำให้แสบจมูกระคายเคืองผิวและเกิดอาการแพ้ได้ จึงต้องเจือจางกับน้ำมันชนิดอื่นก่อนใช้ เช่น โจโจบาออยล์

5. ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย

การทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้ผล เช่น เล่นโยคะ ฝึกการหายใจ นั่งสมาธิ ชมภาพยนตร์ เล่นเกมเพื่อผ่อนคลาย รวมถึงฟังเพลง อย่างไรก็ตาม เพลงที่เลือกฟังเพื่อผ่อนคลายควรเป็นเพลงที่มีจังหวะช้าๆ ฟังสบาย ไม่ควรเลือกเพลงที่มีจังหวะรุนแรง เพราะในบางคนอาจทำให้เกิดความรู้สึกตึงเครียดมากขึ้นได้

6. ฝังเข็ม

การฝังเข็มเป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกที่เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของพลังงานในร่างกาย และช่วยบรรเทาอาการได้ อย่างไรก็ตาม ผู้มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับการฝังเข็ม และควรเลือกฝังเข็มกับแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตฝังเข็มอย่างถูกต้อง

7. ปรับการรับประทานอาหาร

บางครั้งอาการปวดหัวอาจเกิดจากการไม่ได้รับประทานอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จึงควรแบ่งรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ ตลอดทั้งวันแทนการรับประทานอาหารมื้อหลักในปริมาณมาก ซึ่งช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่มากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงเช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดเชีย อัลมอนด์ ผักโขม และถั่วดำ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้

นอกจากนี้ อาหารบางอย่างที่เรารับประทานอาจมีสารกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น ผงชูรสในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ชา กาแฟและช็อคโกแลตที่มีคาเฟอีน เนื้อสัตว์แปรรูป อย่างเบคอนและไส้กรอกที่มีสารไนเตรทสูง และเนื้อสัตว์รมควันและชีสบ่มที่มีสารไทรามีน (Tyramine) ผู้มีอาการปวดหัวบ่อยจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้

8. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นอาการ

การอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน เสียงดัง มีกลิ่นฉุนหรือกลิ่นเหม็น และที่กลางแจ้งที่มีแสงแดดจัด อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้มากขึ้น โดยอาการของแต่ละคนอาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างกัน จึงควรสังเกตปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการและหลีกเลี่ยงสถานที่นั้นก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้

9. รับประทานยาแก้ปวดหัว

หากลองใช้วิธีอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล อาจเลือกใช้วิธีการรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้เอง เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นวิธีแก้ปวดหัวที่หลายคนคุ้นเคยกันดี ซึ่งช่วยบรรเทาอาการที่ไม่รุนแรงมากให้ดีขึ้น ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัมขึ้นไปให้รับประทานครั้งละ 500–1,000 มิลลิกรัม ทุก 4–6 ชั่วโมง และรับประทานไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน

นอกจากยาพาราเซตามอล บางคนอาจรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยาแอสไพริน (Aspirin) ซึ่งยามีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคตับและโรคไต และผู้มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด

ยาไอบูโพรเฟนและแอสไพรินควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ผู้ที่ปัญหากระเพาะอาหารอักเสบหรือมีแผลในกระเพาะอาหารควรหลีกเลี่ยงการใช้ และห้ามใช้ยาแอสไพรินในเด็กที่อายุน้อยกว่า 18 ปี เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้

หากดูแลตัวเองด้วยวิธีแก้ปวดหัวข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ปวดบ่อยและปวดรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาอย่างเหมาะสม รวมทั้งผู้ที่มีอาการรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ปวดหลังประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ คอแข็งเกร็ง ผื่นขึ้น ตาพร่า ร่างกายอ่อนแรง สับสน พูดไม่ชัด และชัก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ที่มา

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  jeremyhoyejewellery.com  สนับสนุนโดย  ufabet369